ศูนย์อุทกวิทยาชลประทาน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

HYDROLOGY IRRIGATION
FOR LOWER NORTHEASTERN REGION




453 หมู่ 10 ถนนมิตรภาพ ตำบลโคกกรวด
อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30280

453 Moo 10 Mittaphap Rd.  T. Khokkruat A. Muang  Nakhonratchasima 30280
TEL. 044-465154 - 6   FAX. ต่อ 13
FAX.
 044 - 465938

EMAIL
HYDROLOGY4@Gmail.com

กรมชลประทาน
ROYAL IRRIGATION DEPARTMENT


 
 
วิสัยทัศน์กรมชลประทาน
" กรมชลประทานเป็นองค์กรนำด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ ให้มีพื้นที่ชลประทาน อยู่ในลำดับ 1 ใน 10 ของโลก"  

 
 

บทบาทศูนย์อุทกวิทยาชลประทาน

          1. เป็นหน่วยงานหลักในการสำรวจข้อมูลอุทกวิทยา ตรวจสอบ วิเคราะห์ ประมวลผล จัดทำฐานข้อมูล รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลด้านวิชาการ เพื่อใช้ออกแบบเชิงอุทกวิทยาในการพัฒนาแหล่งน้ำของกรมชลประทาน

            2. เป็นหน่วยงานหลักในการติดตามสถานการณ์น้ำ วิเคราะห์ข้อมูลและแจ้งสถานการณ์น้ำที่เกิด ขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆ เพื่อการพยากรณ์ในการเตือนภัยน้ำท่วม-น้ำแล้ง และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำที่รับผิดชอบ
 


ศูนย์อุทกวิทยาชลประทานภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง แบ่งออกเป็น 1 งาน 3 ฝ่าย

  งานบริหารทั่วไป
 
 

หน้าที่ความรับผิดชอบ         

          1. ดำเนินการงานสารบรรณ รับ-ส่ง ร่าง พิมพ์หนังสือและเอกสารราชการ บริการค้นหา จัดเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามระเบียบและมาตรฐานที่กำหนด

          2. ดำเนินการบริหารทรัพยากรบุคคล การพิจารณาความดีความชอบ และพัฒนาบุคลากร เพื่อให้การ บริหารทรัพยากรบุคคลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม

          3. ดำเนินการด้านการเงินและบัญชี การจัดทำบัญชี การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนด

          4. ดำเนินการด้านพัสดุ การจัดทำบัญชีพัสดุ การจัดทำทะเบียนการเบิกจ่าย การควบคุมพัสดุ การจัดทำรายงานประจำปี เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านพัสดุเป็นไปอย่างถูกต้องตามระเบียบที่กำหนด

          5. ดำเนินการจัดสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ต่างๆ และการเสริมสร้างความผาสุกเพื่อให้บุคลากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี

          6. ปฏิบัติงานรวมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

  ฝ่ายวิเคราะห์และประมวลสถิติ
 

หน้าที่ความรับผิดชอบ         

          1. ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ กำหนดตำแหน่งที่ตั้ง ในการวางโครงข่ายสถานีสำรวจข้อมูลอุทกวิทยา เพื่อให้ได้พื้นที่รับน้ำฝนที่ครอบคลุมพื้นที่ในเขตรับผิดชอบ สามารถนำไปใช้ในการจัดทำแผนพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำ

          2. ศึกษา วิเคราะห์ วางแผน รวบรวม ตรวจสอบ บันทึก และประมวลสถิติข้อมูลทางอุทกวิทยา อุตุนิยมวิทยา ตะกอนและคุณภาพน้ำ เพื่อกำหนดเกณฑ์เบื้องต้นในการใช้งานด้านการบริการจัดการน้ำในระดับพื้นที่

          3. รวบรวม ติดตามและประเมินผล สรุปปัญหา และวางแนวทางแก้ไขงานด้านอุทกวิทยา เพื่อให้การดำเนินงานของศุนย์อุทกวิทยาชลประทานสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

          4. ศึกษา ออกแบบ พัฒนา และจัดทำฐานข้อมูลในระดับลุ่มน้ำและภูมิภาค เพื่อประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำ การจัดการลุ่มน้ำ และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ

          5. ประสานความรวมมือและสนับสนุนข้อมูลสถิติทางอุทกวิยา แก่หน่วยงานต่างๆตลอดจนให้คำแนะนำทางด้านอุทกวิทยา ในระดับพื้นที่แก่ส่วนราชการ หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายที่กำหนด

          6. ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

 

 
ฝ่ายปฏิบัติการอุทกวิทยา
 

หน้าที่และความรับผิดชอบ

          1. วางแผน ควบคุม การก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง บำรุงรักษา สถานีสำรวจระดับน้ำแบบธรรมดาและอัตโนมัติแบบส่งข้อมูลระยะไกล ณ เวลาจริง และเครื่องมือสำรวจทางอุทกวิทยา อุตุ-อุทกวิทยา ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

            2. สำรวจ ตรวจวัด ข้อมูลอุทกวิทยา ประกอบด้วย ระดับน้ำ ปริมาณน้ำ ตะกอนและคุณภาพน้ำ          รูปตัดขวางลำน้ำ ลักษณะทางกายภาพของลุ่มน้ำ และข้อมูลอุตุ-อุทกวิทยา เช่น ปริมาณน้ำฝน อัตราการระเหย อุณหภูมิผิวพื้น เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลอุตุ-อุทกวิทยาที่มีความถูกต้องและครอบคลุมในระดับพื้นที่

            3. ดำเนินการสอบเทียบอาคารชลประทานในเขตพื้นที่ คำนวณ ประมวลผลรายงาน                       เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์การระบายน้ำของอาคารชลประทาน

            4. ประสานความร่วมมือและสนับสนุนข้อมูลเบื้องต้นทางด้านอุทกวิทยาแก่หน่วยงานต่างๆ ตลอดจนให้คำแนะนำทางด้านอุทกวิทยา ในระดับพื้นที่แก่ส่วนราชการ หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

            5. ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

 

   
สำรวจระดับน้ำและปริมาณน้ำ
 
สำรวจรูปตัดขวางลำน้ำ
 
สถานีวัดระดับน้ำแบบอัตโนมัติ 
 
สถานีสนามระบบโทรมาตร

สำรวจข้อมูลอุตุนิยมวิทยา

 สำรวจตะกอนและคุณภาพน้ำ

 

 
ฝ่ายติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ
 

หน้าที่และความรับผิดชอบ

        1. ติดตาม เฝ้าระวัง และวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ คุณภาพน้ำ เพื่อให้ได้ผลการประเมินและคาดการณ์สถานการณ์น้ำท่วม ภัยแล้ง หรือผลกระทบด้านอื่นๆ สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบในการแจ้งเตือนภัยระดับพื้นที่

          2. ศึกษา ออกแบบ พัฒนา และจัดทำระบบฐานข้อมูล ระบบสารสนเทศข้อมูลอุทกวิทยาในระดับพื้นที่ โดยแสดงข้อมูลผ่านเว๊บไซต์ของศูนย์อุทกวิทยาชลประทานภาค เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถนำข้อมูลในระดับพื้นที่ไปใช้ประโยชน์

          3. จัดทำรายงานข้อมูล สถานการณ์น้ำฝน น้ำท่า สภาพอากาศ คุณภาพน้ำ และแนวโน้ม เพื่อให้           กรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์และเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจด้านการบริหารจัดการน้ำ

          4. สนับสนุนข้อมูลสถานการณ์น้ำฝน สภาพอากาศ คุณภาพน้ำ และให้คำแนะนำด้านอุทกวิทยา ในระดับพื้นที่แก่หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

          5. ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

 

 

ศูนย์อุทกวิทยาชลประทานภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
         
มีเขตความรับผิดชอบ 6 จังหวัด คือ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ 

 

โครงสร้างบุคลากรศูนย์อุทกวิทยาชลประทาน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ข้าราชการ

พนักงานราชการ

ลูกจ้างประจำ

ลูกจ้างชั่วคราว

จำนวน/ราย

จำนวน/ราย

จำนวน/ราย

จำนวน/ราย

 ผู้อำนวยการศูนย์อุทกวิทยาชลประทาน ภาคตอน.ตอนล่าง

 1

-

-

-

 งานบริหารทั่วไป

1

2

 1

 5

 ฝ่ายวิเคราะห์และประมวลสถิติ

1

3

 3

 2

 ฝ่ายปฏิบัติการอุทกวิทยา

1

3

17

 30

 ฝ่ายติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ

1

3 1 3

รวมทั้งสิ้น

5

 11

22

 40

อัตรากำลังรวมทั้งหมด 78 อัตรา
  ข้าราชการ                5    อัตรา
  พนักงานราชการ      11   อัตรา
  ลูกจ้างประจำ            22   อัตรา
  ลูกจ้างชั่วคราว         40   อัตรา